หัวข้อ   “ สรุปผลงาน ผบ.ตร. คนเก่าและความเชื่อมั่นต่อว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่
คนกรุงเทพฯ 68.4% ชี้การทำงานของตำรวจในยุค พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์เป็นผบ.ตร. ในภาพรวม
ถือว่า “เห็นผลงาน” ขณะที่ 57.0% เชื่อมั่นต่อว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่จะสร้างความปลอดภัยให้คน กทม. ได้
วอนแก้ปัญหายาเสพติดเป็นอันดับแรกหากเข้ารับตำแหน่ง
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ด้วยวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้ เป็นวันครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ผู้บัญชาการ
ตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “สรุปผลงาน
ผบ.ตร. คนเก่าและความเชื่อมั่นต่อว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่
”  โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน
อายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,146 คน พบว่า
 
                 คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 68.4 เห็นว่าการทำงานของตำรวจไทยในยุค
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์เป็น ผบ.ตร. ในภาพรวมถือว่าเห็นผลงาน
ขณะที่ร้อยละ
31.6 ระบุว่าไม่เห็นผลงานเลย โดยด้านที่เห็นผลงานมากที่สุดคือ ด้านการป้องกันและ
ปราบปรามอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุข (ร้อยละ 86.5)
  รองลงมา
คือ ด้านการพิทักษ์สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข (ร้อยละ 80.3)  การให้บริการประชาชนอย่างสุภาพ นุ่มนวล
เอาใจเขามาใส่ใจเรา (ร้อยละ 69.3)   มีเพียงด้านการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประชาชนร้อยละ 62.5 ระบุว่า “ไม่เห็นผลงานเลย”
 
                 ส่วนคะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ผบ.ตร. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พบว่า
มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.47 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
  โดยได้คะแนนด้านการทำงานเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
มากที่สุดเท่ากับ 6.61 คะแนน  ขณะที่ได้คะแนนด้านความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุดเท่ากับ 6.31 คะแนน
 
                 ด้านความเชื่อมั่นของคนกรุงเทพฯ ต่อตำรวจว่าจะสามารถแก้ปัญหาการลักขโมยสร้างความอุ่นใจ
ให้ประชาชน หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. เหมือนปีที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.1 ไม่เชื่อ
มั่นว่าตำรวจจะสามารถแก้ปัญหาได้
  ขณะที่ร้อยละ 35.9 เชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาได้  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นต่อ
ตำรวจในการแก้ปัญหาบ่อนการพนันในพื้นที่กรุงเทพฯ มากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของ
ส.ส. ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ร้อยละ 40.7 บอกว่าเชื่อมั่นพอๆ กัน
  ขณะที่ร้อยละ 32.7 บอกว่าเชื่อมั่นชูวิทย์มากกว่า และ
ร้อยละ 26.6 บอกว่าเชื่อมั่นตำรวจมากกว่า
 
                  นอกจากนี้เมื่อถามว่าปัจจุบันเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใด กับการทำงานของตำรวจในการบังคับใช้
กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ร้อยละ 78.6 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ 21.4 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
 
                  เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นผบ.ตร. คนใหม่ ว่าจะสามารถ
ปราบปรามปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้คน กทม.ได้มากน้อย
เพียงใด ร้อยละ 57.0 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ 43.0 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  เมื่อถามต่อว่าเรื่องที่ต้องการให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่ แก้ไขปัญหา
มากที่สุดอันดับแรกคือ ยาเสพติด (ร้อยละ 33.2)
  รองลงมาคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(ร้อยละ 22.1) และปัญหาแวดวงตำรวจเช่น การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน (ร้อยละ 20.3)
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ประเมินผลงานของตำรวจไทยในยุค พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เป็นผู้บัญชาการตำรวจ
                 แห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้


ด้าน
เห็นผลงาน
(ร้อยละ)
ไม่เห็นผลงาน
(ร้อยละ)
การพิทักษ์สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ
การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัติย์
ทรงเป็นประมุข
80.3
19.7
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด
แหล่งอบายมุข
86.5
13.5
การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
37.5
62.5
การให้บริการประชาชนอย่างสุภาพ นุ่มนวล เอาใจเขา
มาใส่ใจเรา
69.3
30.7
เฉลี่ยรวม
68.4
31.6
 
 
             2. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ผบ.ตร. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พบว่า

ด้าน
คะแนนเต็ม 10
การทำงานเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
6.61
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
6.58
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อประชาชน
6.54
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ
6.32
ความซื่อสัตย์สุจริต
6.31
เฉลี่ยรวม
6.47
 
 
             3. ความเชื่อมั่นต่อตำรวจว่าจะสามารถแก้ปัญหาการลักขโมย สร้างความอุ่นใจให้ประชาชนได้
                 หากเกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. เหมือนปีที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
35.9
ไม่เชื่อมั่น
64.1
 
 
             4. ความเชื่อมั่นต่อตำรวจในการแก้ปัญหาบ่อนการพนันในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเปรียบเทียบกับ
                 ส.ส. ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นชูวิทย์มากกว่า
32.7
เชื่อมั่นตำรวจมากกว่า
26.6
เชื่อมั่นพอๆ กัน
40.7
 
 
             5. ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากร้อยละ 19.7 และมากที่สุดร้อยละ 1.7)
21.4
เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 48.3 และน้อยที่สุดร้อยละ 30.3)
78.6
 
 
             6. ความเชื่อมั่นที่มีต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่ว่าจะสามารถปราบปราม
                 ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้คน กทม.

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากร้อยละ 6.6 และมากที่สุดร้อยละ 50.4 )
57.0
เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 36.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.0)
43.0
 
 
             7. เรื่องที่ต้องการให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร.คนใหม่ แก้ไขปัญหามากที่สุด
                 (5 อันดับแรก) คือ

 
ร้อยละ
อันดับ 1 ยาเสพติด
33.2
อันดับ 2 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
22.1
อันดับ 3 ปัญหาแวดวงตำรวจเช่น การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน
20.3
อันดับ 4 ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
9.9
อันดับ 5 นักเรียนตีกัน
6.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อประเมินผลงานตำรวจไทยในยุค พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                  2. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการทำหน้าที่ ผบ.ตร. ยุค พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
                  3. เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาลักขโมยในช่วงน้ำท่วม ความเชื่อมั่น
                      ในการบังคับใช้กฎหมาย ความเชื่อมั่นในการปราบปรามบ่อนการพนัน
                  4. เพื่อสะท้อนเรื่องที่ประชาชนต้องการให้ ผบ.ตร. คนใหม่แก้ปัญหามากที่สุด และความเชื่อมั่นต่อ ผบ.ตร.
                      คนใหม่ในการปราบปรามปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
29 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง
ตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ
ป้อมปราบ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น
จำนวน 1,146 คน เป็นชายร้อยละ 50.3 และหญิงร้อยละ 49.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  20 - 23 กันยายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 กันยายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
577
50.3
             หญิง
569
49.7
รวม
1,146
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
298
26.0
             26 – 35 ปี
303
26.5
             36 – 45 ปี
274
23.9
             46 ปีขึ้นไป
271
23.6
รวม
1,146
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
707
61.7
             ปริญญาตรี
384
33.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
55
4.8
รวม
1,146
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
88
7.7
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
330
28.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
333
29.1
             รับจ้างทั่วไป
168
14.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
67
5.8
             นักศึกษา
135
11.8
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
25
2.1
รวม
1,146
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776